โรคหัวใจ ภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด และวิธีการรักษา

หลายคนใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ มุ่งมั่นกับงานจนละเลยสุขภาพ พอป่วยถึงได้หันมาดูแลตัวเอง แต่พอหายก็กลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม วนเวียนไปมา สุดท้ายตรวจสุขภาพเจอโรคร้าย ซึ่งโรคหัวใจเป็นหนึ่งในโรคร้ายยอดฮิตที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย สาเหตุหลักมาจากการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ พักผ่อนน้อย ทานอาหารไม่ดี และความเครียดสะสม

รู้จักโรคหัวใจให้มากขึ้น

โรคหัวใจ หมายถึง โรคที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โรคหัวใจมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีสาเหตุและอาการแตกต่างกัน เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจโต โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคหัวใจขาดเลือด ฯลฯ

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิด โรคหัวใจ

พฤติกรรมการใช้ชีวิต

  • สูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • ทานอาหารไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น อาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง โซเดียมสูง
  • นอนหลับไม่เพียงพอ
  • เครียด

โรคประจำตัว

  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคอ้วน
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • ภาวะไตวายเรื้อรัง
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • ภาวะซีดเรื้อรัง

ประวัติครอบครัว

มีญาติสายตรงเป็นโรคหัวใจ

สัญญาณเตือนโรคหัวใจ

โดยปกติแล้วโรคหัวใจมักจะไม่ค่อยมีอาการที่แสดงออกมาชัดเจนเท่าไหร่นัก แต่ก็ยังคงมีอาการบางอย่างที่ส่งสัญญาณบอกว่ามีสิทธิ์เป็นโรคหัวใจอยู่ดังต่อไปนี้

  • เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกาย เดินขึ้นบันใดหลายชั้น เดินเร็ว หรือทำงานที่ต้องใช้แรงเยอะ
  • หายใจเข้าลำบาก เป็นในเวลาที่ออกกำลังกาย ใช้แรงมาก ซึ่งอาจเป็นได้ตลอดเวลาหรือเป็นเฉพาะในเวลากลางคืน
  • เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกข้างซ้ายหรือทั้งสองข้าง เพราะจะทำให้รู้สึกเหนื่อย อึดอัดตรงหน้าอกหรือหายใจไม่ออกจนไม่สามารถนอนราบได้ปกติแบบคนทั่วไป
  • ใจสั่น หน้ามืดได้ง่าย และบางครั้งก็เป็นโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เหงื่ออออกง่าย หัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ จนอาจถึงขั้นภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
  • แขนขา มือและเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ เล็บและริมฝีปากมีสีเขียว ม่วงหรือดำคล้ำ
  • และในบางรายมีอาการของกระดูกสันหลังคดงอจนผิดรูปร่วมด้วยเนื่องจากการทำงานที่ผิดปกติของเซลล์ผนังเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งกระดูกที่คดอาจไปเบียดกับปอดจนทำให้การหายใจนั้นเหนื่อยหอบได้ง่าย

ซึ่งอาการเหล่านี้ถ้าหากตรวจพบเจอได้เร็วก็จะสามารถรักษาอาการให้คงที่และใช้ชีวิตได้เหมือนกับคนปกติทั่วไปได้

ประเภทและอาการของโรคหัวใจยอดฮิต

1. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

เกิดจากการรวมตัวของไขมันที่ผนังในหลอดเลือดหัวใจจนเป็นก้อน ซึ่งก้อนไขมันนี้เกิดจากคอเลสเตอรอลและของเสียอื่น ๆ เกาะตัวกันเป็นกลุ่ม จนทำหลอดเลือดเกิดการตีบตันทำให้ขัดขวางการไหลเวียนของเลือด จึงทำให้ไม่สามารถส่งเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ ซึ่งภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตันจะทำให้ร่างกายไม่สามารถส่งเลือดและออกซิเจนไปยังหัวใจได้

สัญญาณเตือน

  • เจ็บแน่นหน้าอก คล้ายมีสิ่งกดทับ มักเกิดขึ้นกลางอก อาจร้าวไปยังกราม ไหล่ แขนซ้าย คอ หรือหลัง
  • หายใจลำบาก หายใจไม่เต็มอิ่ม
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม
  • เหงื่อออกมาก

อาการรุนแรง

  • เจ็บหน้าอกรุนแรง แน่นิ่ง นานกว่า 20 นาที
  • หายใจหอบ เหนื่อยมาก
  • หมดสติ

2. โรคหัวใจโต

กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนักจนขยายขนาดใหญ่ขึ้น ผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจหอบ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ขาบวม

สัญญาณเตือน

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • หายใจลำบาก หายใจไม่เต็มอิ่ม
  • ไอเรื้อรัง
  • ขาบวม
  • รู้สึกเหมือนมีน้ำในช่องท้อง
  • ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม

อาการรุนแรง

  • หายใจหอบ เหนื่อยมาก
  • เจ็บหน้าอก
  • หมดสติ

3. โรคลิ้นหัวใจตีบ

โรคลิ้นหัวใจตีบคือภาวะที่ลิ้นหัวใจปิดและเปิดได้ไม่สุด ซึ่งทำให้เลือดออกจากห้องหัวใจยากขึ้นทำให้มีความดันและปริมาณเลือดสะสมย้อนกลับไปสู่ห้องหัวใจและหลอดเลือด โดยส่วนมากโรคลิ้นหัวใจตีบมักจะมีอาการที่ไม่ค่อยแตกต่างจากโรคของลิ้นหัวใจรั่วมากเท่าไหร่

สัญญาณเตือน

  • เหนื่อยง่าย
  • หายใจลำบาก หายใจไม่เต็มอิ่ม
  • ไอเรื้อรัง
  • ขาบวม
  • รู้สึกเหมือนมีน้ำในช่องท้อง
  • ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม

อาการรุนแรง

  • หายใจหอบ เหนื่อยมาก
  • เจ็บหน้าอก
  • หมดสติ

4. โรคลิ้นหัวใจรั่ว

โรคที่เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่ทำให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท ซึ่งเป็นเหตุทำให้เลือดไหลย้อนกลับจนหัวใจต้องทำงานหนักเพื่อสูบฉีดเลือดให้เพียงพอต่อความต้องการของหัวใจ ซึ่งคนที่เป็นโรคนี้มักจะใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่เต็มที่เหมือนคนปกติทั่วไป และบางรายอาจเสียชีวิตได้เนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว โดยสาเหตุหลัก ๆ ของโรคลิ้นหัวใจรั่วมาจากความผิดปกติของหัวใจที่มีความบกพร่องมาแต่กำเนิด เช่น หลอดเลือดลิ้นหัวใจตีบ จึงส่งผลให้ลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ

สัญญาณเตือน

  • เหนื่อยง่าย
  • หายใจลำบาก หายใจไม่เต็มอิ่ม
  • ไอเรื้อรัง
  • ขาบวม
  • รู้สึกเหมือนมีน้ำในช่องท้อง
  • ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม

อาการรุนแรง

  • หายใจหอบ เหนื่อยมาก
  • เจ็บหน้าอก
  • หมดสติ

5. โรคหัวใจขาดเลือด

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็น ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง หายใจหอบ เหงื่อออกเยอะ

สัญญาณเตือน

  • เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก คล้ายถูกกดทับ มักเกิดขึ้นกลางอก อาจร้าวไปยังกราม ไหล่ แขนซ้าย คอ หรือหลัง
  • หายใจลำบาก หายใจไม่เต็มอิ่ม
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม
  • เหงื่อออกมาก

อาการรุนแรง

  • เจ็บหน้าอกรุนแรง แน่นิ่ง นานกว่า 20 นาที
  • หายใจหอบ เหนื่อยมาก
  • หมดสติ

6. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ 

เกิดจากมีจุดหรือตำแหน่งบางตำแหน่งของหัวใจที่กำเนิดกระแสไฟฟ้าผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ จึงไม่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ

อาการของโรคหัวใจชนิดนี้

  • อาการหัวใจเต้นช้าผิดปกติ โดยปกติแล้วอัตราการเต้นของหัวใจจะขึ้นอยู่กับการทำกิจกรรมและความต้องการออกซิเจนของร่างกาย ซึ่งอัตราการเต้นในขณะนี้จะต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที  ซึ่งจะทำให้มีอาการความดันต่ำ หน้ามืด มึนงง วูบและอาจเป็นหนักถึงขั้นเป็นลมหมดสติ ส่วนในผู้ป่วยที่มีอาการไม่มากมักจะมีอาการแค่อ่อนเพลีย และเหนื่อยง่าย
  • อาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ อัตราการเต้นของหัวใจจะมากกว่า 60 ครั้งต่อนาที ซึ่งอาจสูงจนถึง 100 ครั้งต่อนาทีหรือมากกว่านั้นก็ได้  ซึ่งถ้าหากเป็นเพียงเล็กน้อยก็จะมีแค่อาการเหนื่อยง่าย และหัวใจเต้นเร็วเท่านั้น ซึ่งสามารทำได้โดยการนั่งพักหรือพักการทำกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ในขณะนั้น แต่ถ้ามีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก อึดอัด หายใจไม่ออก หน้ามืด ความดันต่ำเลือดต่ำ หัวใจวาย อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษา

7. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

โครงสร้างหัวใจผิดปกติตั้งแต่กำเนิด ผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจหอบ เหนื่อยง่าย ใจสั่น ตัวเขียว

อาการ

  • ในเด็กทารกจะมีอาการเหนื่อยได้ง่ายเวลาที่กินนมแม่จนบางครั้งทำให้เด็กหายใจไม่ทัน และส่งผลให้น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นได้ช้า
  • ในเด็กโตที่โตขึ้นจนสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มักจะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาเล่นกับเพื่อน ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก
  • สีผิวซีดหรือเขียว เล็บและริมฝีปากมีสีม่วงหรือเขียวคล้ำ
  • อาการบวมที่ขา ท้อง หรือบริเวณรอบดวงตา และนิ้ว

การป้องกันการเกิดโรคหัวใจ สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่: การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อโรคหัวใจ ควรเลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์
  • ควบคุมน้ำหนัก: ควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ: ทานผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี เลี่ยงอาหารไขมันอิ่มตัวสูง ไขมันทรานส์ โซเดียม และน้ำตาล
  • ควบคุมระดับความดันโลหิต: ควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมระดับไขมันในเลือด: ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด: ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

การรักษาโรคหัวใจในปัจจุบัน

การรักษาโรคหัวใจในปัจจุบันนั้นมีทางเลือกและวิธีที่หลากหลายให้กับผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นการรักษาตามอาการ เพราะโรคหัวใจเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ง่าย จึงต้องรักษาตามที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านแนะนำและให้การดูแลอย่างใกล้ชิด แต่อย่างไรก็ตามการรักษาโรคหัวใจก็ยังมีวิธีที่แพทย์จะทำการรักษาผู้ป่วยดังต่อไปนี้

การรักษาตามอาการ

การรักษาด้วยวิธีนี้จะเป็นการรักษาผู้ป่วยตามอาการที่แสดงออกมาให้เห็น โดยแพทย์ผู้ทำการรักษาจะทำการนัดผู้ป่วยมาตรวจเพื่อติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และจะแนะนำผู้ป่วยถึงการปฏิบัติตัวเพื่อไม่ให้อาการของโรคกำเริบขึ้น รวมไปถึงให้ยาร่วมด้วยเพื่อป้องกันการกำเริบของโรคก่อนมาตรวจในครั้งถัดไป

การใช้ยารักษา

การใช้ยารักษาเป็นการรักษาร่วมกับการรักษาด้วยวิธีการติดตามอาการของแพทย์ผู้ทำการรักษา แต่การให้ยาจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ซึ่งการให้ยาเป็นการใช้เพื่อควบคุมการทำงานของหัวใจไม่ให้ทำงานหนักจนเกิดอาการกำเริบขึ้นได้

การรักษาด้วยหัตถการหลอดเลือดหรือการผ่าตัด

การรักษาด้วยวิธีนี้จะเป็นการรักษาที่เจาะลึกลงไปยังส่วนที่ผิดปกติของร่างกายจึงทำให้การรักษาด้วยวิธีนี้มีความเสี่ยงต่อชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก เพราะถ้าหากเกิดความผิดพลาดระหว่างการรักษานั่นหมายถึงผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ จึงทำให้แพทย์ผู้ที่ทำการรักษาต้องมีการปรึกษากับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยเพื่อถามถึงความสมัครใจในการรักษา และจะได้ทำการวางแผนการรักษาในขั้นต่อไป ซึ่งการรักษาด้วยหัตถการหลอดเลือดหรือการผ่าตัดมีวิธีการรักษาดังนี้

  • การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด
  • การขยายลิ้นหัวใจที่ตีบด้วยบอลลูน
  • การใส่ลิ้นหัวใจเทียมแทนลิ้นหัวใจที่ตีบจากการเสื่อมสภาพ โดยการสอดใส่ผ่านทางหลอดเลือด
  • การปิดกั้นผนังกั้นหัวใจที่รั่วด้วยอุปกรณ์พิเศษผ่านทางหลอดเลือด
  • การจี้หัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูงโดยการใส่สายผ่านทางหลอดเลือด
  • การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวร
  • การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ
  • การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจโดยใช้หลอดเลือดของผู้ป่วยเอง
  • และการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม

การรักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟูและการกายภาพบำบัด

การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นการช่วยฟื้นฟูร่างกายให้ผู้ป่วยให้กลับมาแข็งแรงจนสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และอาจทำให้ผู้ป่วยสามารถที่จะกลับมาออกกำลังกายได้ตามความต้องการของตัวเองได้มากขึ้น วิธีรักษาโรคหัวใจด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัดนั้นเป็นการรักษาที่ช่วยในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงลดอาการโรคหัวใจได้ดีขึ้น โดยในตอนแรกจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และนักกายภาพบำบัด ก่อนจะค่อยๆปรับเพิ่มโปรแกรมที่ทำผู้ป่วยสามารถทำเองได้และนำไปปฏิบัติใช้ที่บ้านเองได้ทั้งหมด

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีไหนก็ตามแต่ ล้วนขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวเองในการใช้ชีวิตในแต่ละวัน และการดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงและลดความเครียดเพื่อไม่ให้หัวใจทำงานหนัก ส่วนในคนที่เป็นโรคหัวใจมาตั้งแต่กำเนิดก็ต้องปฏิบัติตัวเองไม่ให้อาการของโรคกำเริบ ไม่ว่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทั้งหลายและหลีกเลี่ยงความเครียดที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลให้หัวใจทำงานหนักได้

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคหัวใจ

  • การตรวจวินิจฉัย:
    • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) อยู่ที่ประมาณ 500 – 1,000 บาท
    • ตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) อยู่ที่ประมาณ 2,000 – 5,000 บาท
    • ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หัวใจ (Cardiac CT scan) อยู่ที่ประมาณ 10,000 – 20,000 บาท
    • ตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac MRI) อยู่ที่ประมาณ 20,000 – 40,000 บาท
  • การรักษา:
    • การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ อยู่ที่ประมาณ 70,000 – 200,000 บาท
    • การผ่าตัดบายพาสหัวใจ อยู่ที่ประมาณ 200,000 – 1,000,000 บาท
    • การผ่าตัดหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมอง อยู่ที่ประมาณ 380,000 – 700,000 บาท
    • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงของหลอดเลือดหัวใจ หรือ Coronary Artery Bypass Grafting (CABG) อยู่ที่ประมาณ 700,000 – 1,000,000 บาท
    • การผ่าตัดซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ อยู่ที่ประมาณ 800,000 – 1,000,000 บาท

โรคหัวใจเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด เป็นภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม การตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย และการควบคุมความเครียด ล้วนเป็นวิธีป้องกันโรคหัวใจได้ อย่างไรก็ตาม หากเกิดป่วยเป็นโรคหัวใจ สิ่งสำคัญคือต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที การมีประกันสุขภาพที่ดี จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย อย่าลืมดูแลสุขภาพหัวใจ และเตรียมพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์


แหล่งอ้างอิงที่มาของข้อมูล

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top